วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วิชา  การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย (Parent Education For Early Childhood) 
อาจารย์ผู้สอน  ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2560

เนื้อหาความรู้ / กิจกรรม
                                                                 
                                                                บทที่ 3
การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

ความหมายของการสื่อสาร
          การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ หรือการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

ความสำคัญของการสื่อสาร
     - ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
     - ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
     - ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
     - ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
     - ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

รูปแบบของการสื่อสาร
1. รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)


2. รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)



3. รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์(Shannon & Weaver’s Model of Communication)
4. รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )

5. รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 


องค์ประกอบของการสื่อสาร
     1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
     2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
     3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
     4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
     5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
            ผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ผู้จัดกับผู้ชม ผู้พูดกับผู้ฟัง ผู้ถามกับผู้ตอบ คนแสดงกับคนดู นักเขียนกับนักอ่าน ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว หรือคนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน 

           สื่อ  คือ ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพสาร
          สาร  คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
      1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
      2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
    3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
     4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม


ประเภทของการสื่อสาร
          ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ 3 ประการ คือ  
     1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
              1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โดยฝ่ายผู้รับไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ซึ่งผู้รับอาจไม่เข้าใจข่าวสาร หรือเข้าใจไม่ถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งและทางฝ่ายผู้ส่งเมื่อไม่ทราบปฏิกิริยาของผู้รับจึงไม่อาจปรับการสื่อสารให้เหมาะสมได้ การสื่อสารแบบนี้สามารถทำได้รวดเร็วจึงเหมาะสำหรับการสื่อสารในเรื่องที่เข้าใจง่าย
              1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารมีโอกาสทราบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน ทำให้ทราบผลของการสื่อสารว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่างการสื่อสารแบบสองทาง เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์
     2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก  
              2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร
              2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็วในการพูด เป็นต้น
     3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
         ลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะคือ 
             3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
             3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
             3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)


ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง


พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
           ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง

     1. ความพร้อม 
             คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้ พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
    2. ความต้องการ 
            คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
   3. อารมณ์และการปรับตัว
            คือ แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
    4. การจูงใจ 
             หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
    5. การเสริมแรง 
             คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
   6. ทัศนคติและความสนใจ
                   คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น
                        - จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
                        - ช่วงเวลาในการจัดให้ความรู้ ควรมีเวลาที่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม
   7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ



วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
     1. ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
     2. พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
     3. พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
     4. หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
     5. ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
     6. มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
     7. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

           การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพ

แหล่งที่มา:Power Point ประกอบการสอน โดยอาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
          นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการสื่อสารทั้งกับครู ผู้ปกครองเด็ก  ในสถานสถานศึกษา  และในอนาคตต่อไป

ประเมิน
         ตนเอง: สนุกมาก ตื่นเต้น ตลกดี ได้ประโยชน์ในด้านของการสื่อสาร ทำให้เรารู้ข้อเสียและข้อดีของการสื่อสารของตัวเอง
         เพื่อน: เพื่อนหลายคนก็สนุกสนานกับเกม
        อาจารย์: เกมที่อาจารย์นำมาให้เล่นยังให้ประโยชน์ในด้านของการสื่อสาร ทำให้เราให้ข้อเสียและข้อดีของการสื่อสาร อาจารย์สอนเข้าใจ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น